วิธีล้าง – ฆ่าเชื้อ อุปกรณ์ปั๊มนม สำหรับคุณแม่ที่ต้องไปทำงานนอกบ้าน

ถึงขั้นต้องซื้อเครื่องนึ่งขวดนมไว้ที่ออฟฟิศอีกอันไหม?

ต้องเต็มที่แค่ไหนกับการฆ่าเชื้ออุปกรณ์ปั๊มนมนอกบ้าน? ที่ก่อนหน้านี้ผู้เขียนได้รับการส่งต่อถุงซิปล็อคชนิดหนึ่ง ซึ่งหน้าซองเขียนว่าเป็นซองสำหรับฆ่าเชื้อนอกสถานที่.. ผู้เขียนก็งงว่า การฆ่าเชื้อขวดนม และเครื่องนึ่งขวดนมนอกสถานที่ + ถุงซิปล็อค นี้มันใช้งานอย่างไร? จะไม่ร้อนมือหรอ?

วิธีการใช้ถุงนั้นก็คือ เทน้ำร้อนใส่ แล้วเขย่าถุงนั่นเอง..

ซึ่งนึกภาพดูว่า หากคนที่ป๋ำ ๆ  เป๋อ ๆ เขย่าไม่เก่ง มันจะหกรดลวกมือขนาดไหน? โอกาสที่จะบาดเจ็บจากน้ำร้อนลวกมีสูง สำหรับผู้เขียน คิดว่าการใช้ถุงซิปล็อคนั้นไม่สะดวกเอามาก ๆ เลย

ทีนี้เมื่อต้องกลับมาทำงานหลังครบกำหนดลาคลอดแล้ว จะซื้อเครื่องนึ่งขวดนมใหม่มาไว้ที่ออฟฟิศก็ไม่สะดวก เพราะเครื่องหนึ่งราคาอย่างน้อยก็ 4,000 บาท เพื่อวัตถุประสงค์จะเอามานึ่งอุปกรณ์ปั๊มนมไม่กี่ชิ้นนั้นไม่เหมาะกับราคา ดังนั้นก็เลย เอาใส่ถุงซิปล็อคหรือใส่กล่องใช้ตู้เย็นไว้ก่อน แล้วก็เอากลับบ้านไปล้างนึ่ง เพราะมีกรวย 2 ชุด (กล่องแบบนี้หาซื้อได้ใน Shopee ร้าน Superlock)

ทีนี้มีอยู่วันหนึ่ง ลืมเอากลับไปล้างที่บ้าน ก็เท่ากับว่าเรามีกรวยปั๊มอยู่ที่ออฟฟิศอยู่เพียงชุดเดียว ณ จุดนั้น นมก็เริ่มคัดแล้ว ทำอย่างไรดีล่ะ? ก็เลยต้องใช้วิธีล้างด้วยน้ำยาล้างขวดนมแบบคลีน ๆ ไม่มีกลิ่นน้ำหอม วิ่งไปซื้อ ไลปอนเอฟ ที่ Family Mart ใกล้ ๆ แล้วถอดอุปกรณ์ปั๊มนมทั้งหมด ล้างใส่กล่องถนอมอาหารกันความร้อน (ในภาพคือของยี่ห้อ Superlock เข้าเครื่องนึ่งได้ แล้วเทน้ำร้อนใส่ให้ท่วม ทิ้งไว้ 2 – 5 นาที พอรู้สึกว่าไม่ทั่วก็เขย่า (แต่ไม่หกนะคะ)

ฆ่าเชื้อด้วย “น้ำร้อน” กับ “เครื่องนึ่ง” ต่างกันอย่างไร?

แม้ว่าการฆ่าเชื้อด้วย “น้ำร้อน” นั้นจะไม่ได้ฆ่าเชื้อโรคได้หลายตัวเท่ากับการนึ่งฆ่าด้วยความดัน แต่ก็พอจะทำให้แบคทีเรีย หรือ จุลินทรีย์ ที่เป็นสาเหตุของโรคท้องเสียง่าย ๆ อย่างพวก สเตรปฟิโลคอกคัส ตายได้เหมือนกัน วันนี้จึงเอาข้อจำกัดเกี่ยวกับการฆ่าเชื้อมาบอกแม่ ๆ ให้คลายกังวลกันค่ะ

ฆ่าเชื้อด้วยน้ำร้อน (90 องศาเซลเซียสขึ้นไป)

ฆ่าเชื้อโรคทั่วไปที่เป็นสาเหตุของกลิ่นบูด และ ท้องเสียได้ แต่ข้อควรระวังก็คือ หลังจากลวกแล้วต้องรินน้ำออกจากอุปกรณ์ให้เกลี้ยง เพราะน้ำจะกลายไปเป็น Source ให้กับแบคทีเรียที่ยังไม่ตายที่เหลืออยู่ เติบโตขึ้นได้ ข้อควรระวัง วิธีการฆ่าเชื้อด้วยน้ำร้อนนี้ ไม่ 100% แต่ก็พอใช้ป้องกันการเติบโตของเชื้อได้ใน 24 ชั่วโมง

ฆ่าเชื้อด้วยเครื่องนึ่ง (120 องศาเซลเซียสขึ้นไป)

วิธีการฆ่าเชื้อด้วยเครื่องนึ่ง ทำให้เซลล์แบคทีเรียตายได้ 100% หลักการคือ เครื่องนึ่งจะทำความร้อนสูง ๆ และทำวนซ้ำอย่างนี้หลายรอบ ตัวเซลล์ของแบคทีเรียจะระเบิดกระจุย พอทำรอบอีกรอบ เซลล์ที่เหลือจากรอบแรกที่ยังไม่ตายดีก็ระเบิดตายไปอีกกก ซึ่งส่วนใหญ่เครื่องนึ่งจะถูกตั้งให้ทำงานมากกว่า 30 นาที เพื่อความมั่นใจว่าเชื้อจะตาย และจะฆ่าเชื้อได้หลายชนิดกว่าการลวกน้ำร้อนค่ะ ข้อควรระวังก็คือ ต้องอบให้น้ำระเหยออกให้หมด เช่นกัน

ฆ่าเชื้อด้วยเครื่องอบ UV (ฆ่าเชื้อด้วยรังสี UV)

เครื่องนึ่งประเภทนี้มีราคาสูงมากกก และบางยี่ห้อก็ทำราคาสูงกว่าคุณภาพมากค่ะ ถ้าจะเลือกใช้จริง ๆ ควรจะเป็นเครื่องที่มีการอบนึ่ง ทำความร้อนด้วยไอน้ำด้วย เพราะข้อเสียของเครื่องนี้คือ เวลาคุณวางของเล่น ขวดนม ไว้ซ้อน ๆ กันหลายชิ้น มันจะมีจุดบอด ที่บริเวณนั้นไม่ได้รับรังสี UV แต่ตามทฤษฎี การฆ่าเชื้อด้วยรังสี UV ครอบคลุมเชื้อโรคได้หลายประเภทมากกว่า ทำลายเซลล์ถึงชั้น DNA ทีเดียว

และรวมถึงปัจจุบัน ข้อควรระวัง การศึกษาเรื่องการใช้รังสี UV ก็ยังไม่แตกฉานด้วย แต่ที่แน่ ๆ ก็คือ ควรตั้งเครื่องนี้ไว้ไกล ๆ เด็ก สัตว์เลี้ยง และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เพราะบางคลื่น UV ยังเป็นอันตรายต่อเซลล์มนุษย์ด้วยค่ะ

สรุปแล้วก็คือ การลวกยังคงปลอดภัยอยู่ เพราะเป็นวิธีที่ฆ่าเชื้อโรคทั่วไปได้ และประหยัดงบประมาณที่สุดค่ะ ..มีคุณแม่สงสัยว่าแล้วจะต้มได้ไหม? คือถ้าอยู่บ้านจะต้มก็ต้มได้ค่ะ แต่ต้องดูด้วยว่าอุปกรณ์ขวดนมและอุปกรณ์ปั๊มนมนี้ทนความร้อนแค่ไหน บางยี่ห้อ ลงหม้อก็ละลายแล้วค่ะ การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับป้อนอาหารเด็กจึงต้องเลือกที่เป็น BPA Free เพราะเนื้อวัสดุจะไม่ละลายติดอาหารออกมาเมื่อโดยความร้อนค่ะ

หากมีข้อสงสัย ถามมาในเพจได้นะคะ อะไรตอบได้ก็จะช่วยตอบค่า (พิกัด : ร้านขายเครื่องปั๊มนมเยอะดีค่ะมีหลายแบบลองคลิกดู)

ด้วยความปรารถนาดีจากคุณแม่มือใหม่ ♥

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ได้ที่ >> สารบัญ Siwika Maternity << 
หรือพูดคุยกันได้ทาง Facebook.com/tonhomsiwika นะคะ

Advertisement

3 Comments

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.