แชร์ให้ถูก “วิธีให้นมแม่ที่ถูกต้อง”
เนื่องจากผู้เขียนเองก็เป็นคุณแม่มือใหม่ ไม่ได้เป็น Expert เรื่องการพาลูกเข้าเต้า ก็ต้องอ้างอิงมาจากพี่เลี้ยง นั่นก็คือ พี่ ๆ พยาบาลแผนกเนิร์สเซอรี่ โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน ที่เราฝากครรภ์และคลอดที่นี่ รวมถึงฉีดวัคซีนที่นี่ด้วย เพราะซื้อแพ็คเกจไปแล้ว ที่นี่มีคลินิกนมแม่ให้คำปรึกษาสำหรับคุณแม่ที่ต้องการให้นมลูกอย่างจริงจัง ใครมีปัญหา หัวนมบอด หัวนมสั้น ก็โทรเข้าไปถามได้ หรือจะติดต่อเข้าไปก็ได้ที่ “คลินิกนมแม่” กับทุกโรงพยาบาล (บางที่ก็ฟรีนะคะ)
1 หัวนมสั้น หัวนมบอด
บางคนคิดว่าตัวเองหัวนมสั้น หัวนมบอด แล้วจะไม่สามารถพาลูกเข้าเต้าได้ ปัญหานี้ทางคลินิกนมแม่พร้อมช่วยเหลือ เขาจะช่วยจัดท่า และมีอุปกรณ์เสริมดูดหัวนมกลับขึ้นมา เพราะคลินิกนมแม่แต่ละที่จะถือคติว่าแม่ทุกคนต้องให้นมลูกได้
2 อย่าให้ลูกหลับตอนดูดนมเข้าเต้า
อันนี้สำคัญมาก แม่บางคนเห็นลูกหลับแล้วน่ารักเคลิ้ม ๆ ดี แต่จะทำให้เขาได้รับน้ำนมในปริมาณไม่เพียงพอ แล้วก็จะเหนื่อยคุณแม่ที่ต้องลุกขึ้นมาให้นมบ่อย ๆ ด้วย คุณหมอจะมีวิธีการช่วยปลุกดังนี้
- เอานิ้วเขี่ยที่ข้างแก้มไม่ให้หลับ
- เขี่ยเท้าไม่ให้หลับ
- เขี่ยตามตัวเบา ๆ ให้รู้สึกตัว ห้ามหลับ
3 ท่าอุ้มที่โอเค ลูกไม่หลุดเต้า
คุณแม่ต้องพยายามพาลูกเข้าเต้าในท่าที่ถูกต้อง ถ้ายังอยู่ในช่วงเดือนแรก ๆ ยังไม่คล่อง อย่าเล่นโทรศัพท์ เพราะการที่ลูกดื่มนมไม่อิ่มต่อการเข้าเต้า 1 ครั้ง แปลว่าจะได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ คำแนะนำสำหรับการให้นมแรก ๆ มีดังนี้
- คุณแม่ต้องนั่งหลังตรง กับเก้าอี้มีพนัก หาหมอนมารองที่หลังก็ได้ ป้องกันปัญหาปวดหลังในอนาคต
- มีหมอนให้นม หรือ หมอนรองลูก เพราะต้องนั่งให้นมนาน ๆ
- ให้นมข้างละ 15 นาที สลับสองข้างไปมา ลูกจะได้อิ่ม
- หัวนมจะใช้ผ้าสะอาดเช็ดก็ได้ แต่การเช็ดบ่อยก็ไม่ได้แปลว่าจะทำให้ลูกไม่ท้องเสีย เลือกใช้แผ่นซับน้ำนมปิดไว้ เปลี่ยนบ่อย ๆ ก็ช่วยได้ และรักษาความสะอาดหัวนมให้ดี
- มีท่าให้นมหลัก ๆ ประมาณ 4 ท่า ดังนี้
เข้าเต้าตรง ๆ
อุ้มให้นมเข้าเต้าปกติ ช่วยลูกด้วยการจับให้ปากเขาเข้าถึงลานนม ต้องดูดให้ถึงลานนม น้ำนมจึงจะเพียงพอ
เข้าเต้าด้านข้าง
เอาลูกเข้าเต้าด้านข้าง ถ้าให้ดูดข้างซ้าย ก็เหน็บไว้ข้างซ้าย หาหมอนมารองช่วย ท่านี้เหมาะสำหรับเด็กที่ไม่ชอบเข้าเต้าตรง ๆ
นอนให้นม
ท่านอนให้นม เหมาะสำหรับคุณแม่ที่เพลีย และเพิ่งจะคลอดลูกในช่วงวันแรก ๆ แต่หากหลังจากนั้นคุณแม่แข็งแรงดีและต้องการให้นมลูกท่านอนในตอนกลางคืน ก็อย่าลืมตื่นมาเช็ดคราบน้ำนมบนใบหน้าลูกด้วย ไม่อย่างนั้นจะเป็นผดน้ำนมม
แต่คุณหมอบางท่านอาจจะไม่แนะนำให้นอนให้นมเพราะว่าจะทำให้นมหกเลอะเทอะ เป็นคราบน้ำนม และลูกอาจจะได้รับน้ำนมไม่เพียงพอถ้าแม่เผลอหลับแล้วพลิกท่าไป
4 ทำอย่างไรเมื่อเป็นก้อนแข็งที่นม
หลังจากออกจากโรงพยาบาลเมื่อมีอาการคัดเต้านม ต่อมน้ำนมเป็นก้อน คุณแม่ต้องใช้นิ้วคลึงตีต่อมน้ำนมนั้นให้แตก โดยกดบีบไล่มาที่ลานนม บางต่อมแข็งมาก ต้องให้สามีช่วยกด แรงผู้ชายจะทำให้ต่อมแตกได้ดีกว่า ต้องยอมทนเจ็บหน่อย
5 เมื่อไหร่ที่ต้องปั๊มนม
คุณหมอกุมารแพทย์ที่ผู้เขียนจองแพ็คเกจวัคซีน บอกว่าถ้าแม่อยู่บ้านไม่ต้องปั๊มนมก็ได้ ลูกร้องเมื่อไหร่ก็ให้กิน แต่หากไปทำงานแล้วก็ค่อยปั๊มเก็บไว้ก็ได้ แต่รสชาติของงน้ำนมก็จะเฝื่อนไปตามกาลเวลา และหากเก็บไม่ดีก็จะเหม็นหืนด้วย
นอกจากเรื่องราวการให้นมแม่ที่นำมาเสนอในที่นี้ คุณแม่ ๆ หลายท่านอาจจะเป็นผู้เขี่ยวชาญมากกว่าผู้เขียน และหากสนใจหาข้อมูลประสบการณ์การให้นมเพิ่มเติม เข้าไปศึกษาได้ที่เพจ “นมแม่แฮปปี้” เขาบอกวิธีกู้น้ำนม และข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการให้นมอีกเพียบ.. ลองไปตามดูนะคะ
อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ :
- ทำยังไงดี? น้ำนมแม่หด ไม่มีนมแม่เลี้ยงลูก
- ให้เช่าตู้แช่นมแม่ ธุรกิจอำนวยความสะดวกให้กับคุณแม่มือใหม่
- [รีวิว] ขวดนมเด็กแรกเกิดป้องกันการติดจุกเลือกแบบไหน?
- รีวิวใช้ยา โมทิเลี่ยม เอ็ม – ยากระตุ้นน้ำนม ที่ความจริงเป็นยาแก้คลื่นไส้อาเจียน
- ทารก อุ้มเรอไม่ออก ท้องอืดมีลม ต้องทำอย่างไร?
ด้วยความปรารถนาดีจากว่าที่คุณแม่มือใหม่ ♥
ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ได้ที่ >> สารบัญ Siwika Maternity <<
หรือพูดคุยกันได้ทาง Facebook.com/tonhomsiwika นะคะ
8 Comments