[38] ทำอย่างไรถึงจะมีลูก? – ครบรอบ 7 ปี ที่ลาออกจากห้องแลปฯ ตัวอ่อน Blastocyst

เกือบลืมไปแล้วว่าเคยเป็นนักวิทยาศาสตร์ ประจำห้องแลปฯ พันธุศาสตร์โมเลกุล

จิ๋วน้อยของแม่ใกล้ออกมาลืมตาดูโลกในเดือนหน้าแล้ว และแม่ก็ยังไม่คุ้นชินกับการเคลื่อนไหวของมนุษย์ตัวน้อยในพุง มันเป็นเรื่องมหัศจรรย์มาก ๆ ทีเดียวที่มีคนใหม่มาอยู่ในท้องของเรา และเป็นหน้าที่เฉพาะของผู้หญิง

บางคืนก็ถามสามีเล่น ๆ ว่า ถ้าอนาคตอีก 2-3 ปี มีเทคโนโลยีที่ผู้ชายก็ท้องได้ เขาอยากจะลองท้องไหม? เขาก็ตอบหนักแน่นว่า “ไม่” ไอ้เราก็ไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไร แอบอยากได้ยินแกล้งตอบว่า “ก็ได้นะ” หลอก ๆ กันก็ได้ ลองถามเหตุผล เขาบอกว่าไม่อยากพุงยื่น

ครบรอบ 7 ปี ที่ลาออกจากห้องแลปฯ ตัวอ่อน Blastocyst*

เมื่อ 7 ปีที่แล้ว ผู้เขียนเคยทำงานอยู่ในห้องแลปฯ พันธุศาสตร์โมเลกุล* (ตอนนั้นเพิ่งเรียนจบใหม่ ๆ) น่าจะเป็นห้องแลปฯ เดียวที่ได้รับ ISO ด้านการดูแลตัวอ่อน ณ ตอนนั้น ปัจจุบันก็มีอยู่ประมาณ 13 โรงพยาบาล ไม่นับคลินิก ที่มีหน่วยตรวจโครโมโซมโดยเฉพาะ และบางที่ก็ยังส่งให้ที่นั่นเป็นผู้ตรวจ

*แลปฯ ตัวอ่อน Blastocyst กับ แลปฯ พันธุศาสตร์ ของโรงพยาบาลนี้จะแยกจากกัน อยู่กันคนละชั้น แต่โรงพยาบาลอื่น ยังเรียกเป็นชื่อเดียวกันอยู่

เทคโนโลยีการแพทย์ที่ดูแลผู้มีบุตรยาก เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก โชคดีของคนไทยที่หมอไทยแทบจะเป้นหมอทำตัวอ่อนที่เก่งที่สุดในโลก  วิธีการวัด เขานับเปอร์เซ็นต์การติดและคลอดสำเร็จ หมอไทยเฉพาะโรงพยาบาลที่ผู้เขียนเคยทำงานอยู่ ทำให้ผู้มีบุตรยากมีโอกาสมีลูก 50-70% ขึ้นไป แต่หากเป็นคลินิกหรือโรงพยาบาลอื่น ไม่การันตี

เด็กไทยคนแรกที่คลอดจากการทำกิฟท์ เกิดในปี พ.ศ. 2531 ปัจจุบันก็จะอายุครบ 30 ปี และคาดว่าทำกับหมอคนนี้แหละ ท่านคนเดียวที่ระดับความสามารถไปถึงโอกาสสำเร็จ 70% (อันนี้หุ้นส่วนโรงพยาบาลเคยพูดไว้ให้ฟังในที่ประชุม) และจากประสบการณ์การทำงานที่นั่นค่อนข้างเป็นระเบียบ ละเอียด และใส่ใจกับทุกขั้นตอนในการดูแลตัวอ่อนจริง ๆ

กำเนิดโมโมทาโร่!

Blastocyst คืออะไร?

ก่อนอื่นอยากให้เข้าใจไปพร้อม ๆ กันคร่าว ๆ ก่อนว่ากว่าเด้กจะโตต้องผ่านอะไรมาบ้าง? ตามแผนภาพนี้เลย

  • เด็กในครรภ์ที่ยังไม่คลอด เขาเรียก Fetal
  • ตัวอ่อนในครรภ์ที่ยังไม่มีแขนขา หัวใจยังไม่เต้น เขาเรียก Embryo
  • ช่วงเวลาก่อนเป็น Embryo (เอ็มบริโอ้) มีไม่กี่เซลล์ เรียก Blastocyst

ซับซ้อนกว่านั้นคือ ระยะก่อนเป็น Blastocyst เรียก  1PM กับ 2PM คือการนับว่าระยะเซลล์เดียว กับ 2 เซลล์ หลังจากที่เซลล์ไข่กับสเปิร์มเจอกันแล้ว จะเกิดขึ้นวันไหน?

หน้าตาของ Blastocyst

บลาสโตซีสในช่วง 1-8 เซลล์จะมีความสามารถแบ่งตัวไปเป็นอวัยวะอะไรก็ได้ ฉะนั้นถ้ามันหายไป 1 เซลล์ ร่างกายก็ไม่รู้หลอกว่าหายไปไหน เพราะมันซ่อมแซมตัวเองและเติบโตต่อไปได้ แต่มีระยะเวลาจำกัดไม่เกิน 3 วัน หลังจากปฎิสนธิแล้วเท่านั้นที่จะขโมยออกมา 1 เซลล์

หน้าที่ของผู้เขียนก็คือ ไปรอรับเซลล์ตัวอ่อนที่มีนักเทคนิคการแพทย์ดึงออกมาให้ในระยะ 2PM (ไม่เกี่ยวกับ a.m./p.m. แต่เป็นชื่อเรียกแทน 1 cell/ 2 cells ตามศัพท์เทคนิค) ก่อนจะเข้าไปเอาเซลล์นี้ต้องเปลี่ยนชุดเป็นชุดเขียวถอดหมดเหลือแต่เสื้อในกับกางเกงใน วันนั้นจะมีกฎว่า

  • ให้อาบน้ำมาปกติ ห้ามทาโลชั่น น้ำหอม หรือสบู่หอม
  • ห้ามทาเล็บ

เรื่องเล็บนี่ ต่อให้เป็นเล็บเจล หรือ สีธรรมดา ถ้าหัวหน้าแลปเห็น โดนเตือน 2 ครั้งแล้วเตรียมโดนไล่ออกได้เลย เป็นเรื่องใหญ่มากสำหรับการดูแลตัวอ่อน ว่ากันว่ามีสารระเหยบางอย่างที่มีผลต่อผนังเซลล์ตัวอ่อน

หน้าตาของเซลล์มันจะแบ่งตัว เป็นทวีคูณ กล่าวคือ ตอนแรกมี 1 cell แต่ นิวเคลียสของไข่กับอสุจิยังไม่ผสมกันดี

  • ผ่านไป 1 วัน 24 ชั่วโมงนั้น 1 เซลล์ที่เกิดขึ้นนี้ นิวเคลียร์ (สารพันธุกรรม) ของฝ่ายอสุจิ จะเข้ามาผสมกับไข่โดยสมบูรณ์
  • วันที่ 2 ภายใน 48 ชั่วโมง ก็จะมีเซลล์ที่หน้าตาเหมือนกันทุกประการ 2 cells
  • วันที่ 3 ผ่านมาอีก 24 ชั่วโมง จะมีเซลล์ที่หน้าตาเหมือนกันทุกประการ 4 cells
  • วันที่ 3 ผ่านมาอีก 24 ชั่วโมง จะมีเซลล์ที่หน้าตาเหมือนกันทุกประการ 8 cells
  • วันที่ 4 ผ่านมาอีก 24 ชั่วโมง จะมีเซลล์ที่หน้าตาเหมือนกันทุกประการมากกว่า 16 cells มากมายนับไม่ถ้วนเพราะถูกผสมกลมกลืนกันไปหมดแล้ว

ดังนั้นหากบลาสโตซีสท์ผ่านระยะ 8 เซลล์ไปได้ ก็จะเติบโตเป็นอะไรก็ได้ในอนาคต หน้าที่ของทีมผู้เขียนคือต้องเอาเซลล์ช่วงระยะบลาสโตซีสท์ มาตรวจว่ามีความผิดปกติของโรคพันธุกรรมหรือเปล่า? และผลพลอยได้ก็คือจะรู้ว่าเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง


ขั้นตอนการมีบุตรด้วยวิธีทางการแพทย์

มาถึงขั้นตอนที่คุณอยากจะรู้กันแล้วว่า เด็กที่เกิดจากห้องทดลองนั้นมาได้อย่างไร? บทความนี้อ้างอิงจากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาโดยตรง ผู้เขียนเองทำงานเป็นนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการพันธุศาสตร์เพียงระยะเวลาสั้น ๆ ประมาณ 3 เดือนเท่านั้น ความเชี่ยวชาญอาจจะยังไม่เท่าพี่ ๆ หรือ คุณหมอที่ทำกันมาเป็น 20 – 30 ปี ดังนั้นเนื้อหาที่จะเขียนต่อไปนี้ จะ Scope เฉพาะมุมมองที่ไม่เป็นอันตรายกับผู้ที่กำลังหาข้อมูลอยู่ ส่วนรายละเอียดลึก นั้น คุณผู้อ่านสอบถามกับคุณหมอที่ดูแลคุณอยู่ได้เลยนะคะ

>> ทำไมบางคนถึงมีลูกยาก?

ปัญหาจากฝ่ายชาย.. 

  • บางคนไม่อยากมีลูกด้วยวิธีธรรมชาติ อันนี้เจอไม่บ่อย แต่ก็เจอบ้าง เนื่องจากฝ่ายชายไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาได้ เนื่องจากถูกบังคับให้แต่งงานบ้าง หรือไม่มั่นใจในตัวเองตอนมีเพศสัมพันธ์บ้าง ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จในการมีบุตร จึงต้องมาใช้วิธีการปั่นสเปิร์มผสมกันก่อนส่งกลับเข้าฝ่ายหญิง แต่ส่วนใหญ่กลุ่มนี้สเปิร์มจะแข็งแรง ไม่ได้มีปัญหาอะไร
  • สเปิร์มมีปัญหา ไม่มีหาง / ไม่มีนิวเคลียส ห้องแลปฯ สเปิร์มจะอยู่ข้าง ๆ กับห้องปฏิบัติการพันธุศาสตร์ เหตุผลที่ต้องแยกห้องกันก็เพราะวิธีการจัดเก็บสเปิร์มนั้นละเอียดอ่อนมาก ต้องมีตู้เย็นเยอะ ๆ  เก็บในถังออกซิเจนเหลว คนที่สเปิร์มไม่มีหาง อาจจะมาจากการรับประทานอาหารไม่หลากหลายมานมนาน พักผ่อนนอน เปอร์เซ็นต์ของสเปิร์มที่แข็งแรงน้อย

ผู้ชายที่ไม่สามารถมีบุตรได้เลย ที่เรียกว่า “เป็นหมัน” ก็คือ คนที่ปริมาณสเปิร์มในน้ำเชื้อน้อยมาก ๆ เท่านั้นยังไม่พอ เซลล์สเปิร์มกลับไม่มีนิวเคลียสอีก (นิวเคลียสก็คือ สารพันธุกรรมในเซลล์) ตรงนี้คุณหมอก็ช่วยไม่ได้จริง ๆ ไปวัดขอพรพระก็ไม่มีทางได้! วิธีแก้ไขคือต้องขอบริจาคสเปิร์มจากคนอื่นอย่างเดียว

ปัญหาจากฝ่ายหญิง..

  • นอนน้อย ทำให้ไข่ตกไม่ตรงกันทุกเดือน และยิ่งนอนน้อยติดต่อกันเป็นปี ๆ จะยิ่งทำให้ระบบฮอร์โมนมีปัญหา
  • ความเครียด จะทำให้ระบบฮอร์โมนเพี้ยน ๆ ทำให้เปลือกไข่หนาเกินปกติ อสุจิเจาะไม่ทะลุ
  • มีอวัยวะภายในผิดปกติ เช่น ปากมดลูกเบี้ยว มีเนื้องอกในมดลูก
  • การกินยาคุมเป็นเวลานาน ๆ ผู้หญิงบางคนที่กินยาคุมติดต่อกันมากกว่า 10 ปี ถ้ายาออกฤทธิ์แรงมาก ๆ จะส่งผลต่อระบบฮอร์โมนน

โดยปกติแล้วผู้หญิงจะไข่ตกสลับกัน เดือนนี้ซ้าย เดือนหน้าขวา ทั้งหมดประมาณ 400 – 500 เดือน แล้วแต่คน ผู้หญิงจึงมีประจำเดือนได้ถึงอายุประมาณ 55 ปี หมดเร็วหมดช้าแล้วแต่คน

“ข้อห้ามต่าง ๆ สำหรับคนท้อง” เหมาะแก่ผู้มีบุตรยากมากกว่า

บางทีเราได้ยินความเป็นห่วงจากคนรอบข้าง กับทุก ๆ เรื่อง ตั้งแต่เดิน ยืน นั่งนอน เหล่านี้เหมาะสำหรับเตือนผู้มีบุตรยากที่ผ่านการผสมเทียมมากกว่า เนื่องจากเป็นผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงมากที่สุด แตกต่างจากผู้หญิงที่ท้องเองได้ด้วยวิธีธรรมชาติ เช่น

  • ห้ามนั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้าง คนท้องปกติปั่นจักรยาน / ขี่มอเตอร์ไซค์ได้กระทั่งคลอด (โดยไม่กระแทกแรง ๆ ขับอย่างระมัดระวัง)
  • ห้ามกินของดิบ กินได้ แต่ต้องเลือกร้านที่สะอาด และบางร้านที่เคยไปกินแล้วคุณอาจจะแพ้อาหารนั้น ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ เพราะฉะนั้น จะเสี่ยงหรือไม่เสี่ยง ก็แล้วแต่เจ้าของร่างกายนะคะ ห้ามดุกัน
  • ห้ามใส่รองเท้าส้นสูง ใส่ได้ แต่ว่าจะเพิ่มโอกาสล้ม ต่อให้เราเดินดีแค่ไหน คนอื่นมาชนนิดนึงเราเสียสมดุลย์ได้นะ
  • ห้ามเครียด คนท้องปกติเครียดได้เป็นบางครั้ง แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเก็บมาอารมณ์เสียตลอด ต้องจัดการความเครียดปกติ เราท้อง 9 เดือน คิดเป็น 40 สัปดาห์ 280 วัน จะไม่ให้มีเรื่องเครียดสักวันมันเป็นไปไม่ได้
  • ห้ามนอนดึก คนปกติถ้าไม่ท้อง นอนดึกบ่อย ๆ ก็เลือดจางแล้ว คนที่ไปทำกิฟท์มา ถ้ายังนอนดึกตลอด มีโอกาสหลุดไหม? .. ถ้าระดับความเข้มข้นของเลือดไม่เพียงพอก็อาจจะแย่ต่อเด็กนะคะ
  • ห้ามขับรถ คนปกติท้อง 7 เดือนขึ้นไปก็ใหญ่มากแล้ว ท้องติดพวงมาลัย ขับได้ถ้ายังไหว แต่ถ้าขับแล้วตะคริวกินทุก ๆ 2 นาทีนี่ก็อันตรายนะคะ
  • ห้ามกินยาบางตัว อันนี้จริง
  • ห้ามกินยาพารา หมอบอกว่า พาราเซตามอล นี่ปลอดภัยที่สุดแล้ว เบาที่สุดแล้ว ..คนที่กินไม่ได้จริง ๆ คือผู้ป่วยที่มีโรคเกี่ยวกับตับขั้นวิกฤติแล้ว ถ้าหนีพาราไปกินตัวอื่น ก็ต้องเสี่ยงเพิ่มขึ้น ถ้า ฝากครรภ์อยู่ถามคุณหมอที่ดูแลท้องนี้ของคุณดีกว่า

คนที่ทำกิฟท์ หรือ อิกซี่ มาหลาย ๆ ครั้ง อาจถึงขั้น ห้ามทาเล็บ ห้ามทาครีมที่มีกลิ่นน้ำหอม ห้ามทำเคมีผม อันนี้จริง เพราะรกกับผนังมดลูกอาจจะไม่ติดกัน เกิดผลบางอย่างที่ทำให้หลุดได้ในช่วงก่อน 4 เดือน ในส่วนนี้ขึ้นอยู่กับร่างกายของคุณผู้หญิงด้วย หากเป็นคนมีลูกยากมาก ๆ ติดยากมาก ๆ ข้อห้ามเหล่านี้ควรฟังไว้ แต่คนรอบข้างคนท้องต้องเข้าใจเช่นกันว่ามันไม่ได้ต้องกังวลแทนไปกับคนท้องด้วย บางคนก็ไม่มีอาการแพ้ บางคนก็ไม่อยากกินของเปรี้ยว .. เพราะฉะนั้นอย่าดราม่านะคะ

**ทั้งหมดนี้เขียนจากประสบการณ์ตรงที่เคยทำงานในห้องแลปฯ ปฏิบัติการพันธุศาสตร์ เพราะฉะนั้น ทั้งข้อมูลจริง และ ประสบการณ์ มันก็ดึงสติไม่ให้เราไปเชื่ออะไรที่เล่าลือกันลอย ๆ เป็นตุเป็นตะ หากคุณผ่านมาเจอบทความนี้ แล้วเกิดข้อสงสัย ทักมาถามก็ได้ หรือ จดไปถามหมอสูติที่ดูแลคุณ จะได้ไม่คับข้องหมองใจ สงสัยกันเป็นเดือน ๆ เนอะ

เรื่องที่อยากให้อ่านเพิ่มเติม

ด้วยความปรารถนาดีจากว่าที่คุณแม่มือใหม่ ♥

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ได้ที่ >> สารบัญ Siwika Maternity << 
หรือพูดคุยกันได้ทาง Facebook.com/tonhomsiwika นะคะ

Advertisement

2 Comments

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.