หลังคลอด โดยเฉพาะท้องแรก น้องจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายแล้ว ทางจิตใจก็ต้องเผชิญกับความรู้สึกใหม่ๆ แทบทั้งหมด ต้องเตรียมความพร้อมดูแลชีวิตใหม่ที่เกิดมา แถมยังต้องเผชิญกับความหวังดีที่คนรอบข้างพยายามจะบอก แต่เราก็ต้องเลือกว่าอะไรเหมาะกับเรา อันไหนใช้ไม่ได้ ก็ต้องปฏิเสธความหวังดีนั้นไป
เรื่องหนึ่งที่มักเกิดขึ้นกับคุณแม่หลังคลอด คือ กินอะไรลำบาก เพราะบางบ้านถือเคล็ดไม่เหมือนกัน มีทั้งของที่ “ห้ามกินหลังคลอด” และ “ให้กินหลังคลอด” หวังผลเพิ่มน้ำนมหรือขับน้ำคาวปลา
หากผ่าคลอด คุณหมอบางโรงพยาบาลใช้วิธีซับเอาสิ่งสกปรกจากรก ออกจากมดลูกคุณแม่ให้มากที่สุด แต่อย่างไรก็ดี ระหว่าง 7-14 วันหลังคลอด เป็นช่วงที่ร่างกายต้องผสานแผล และพักฟื้น ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะระมัดระวังอาหารเรื่องอาหาร
อาหารที่ไม่ควรกินหลังคลอด
อาหารที่ไม่ควรกินหลังคลอด ถ้าจำยาก จำอย่างเดียวคือ “อาหารไม่สุก หรือ ไม่มั่นใจในความสะอาด” ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ ช่วง 7-14 วัน หรือ ช่วงอยู่เดือน ควรทำอาหารกินเอง มีคนทำให้กิน หรือผูกปิ่นโตให้ใครทำมาให้กิน เพราะอะไรหรอคะ?
1. ถ้าคุณแม่ท้องเสีย ร่างกายคุณแม่จะเพลียมาก
2. ถ้ามีสารตกค้าง มันจะเข้าสู่น้ำนมลูก
การพักผ่อนไม่เพียงพอในช่วงเดือนแรก จะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของคุณแม่ และการให้นม
นอกจากอาหารไม่สุก ไม่สะอาดแล้ว หากคุณแม่กำลังให้นม ควรงดเบเกอรี่ คุ้กกี้ ที่ทำจากเนย และเนยเทียม

งดในที่นี้ไม่ได้แปลว่าห้ามกินนะคะ
ถ้าอดไม่ได้ อยากกินเพื่อให้รางวัลกับตัวเอง ควรกินปริมาณน้อยมากๆ เพราะจะทำให้ท่อน้ำนมอุดตัน พอตันแล้วเกิดปัญหาตามมาเยอะมากค่ะ ไม่คุ้มกับการให้รางวัลตัวเองสักเท่าไหร่
อาหารที่ควรกินหลังคลอด
เกริ่นมาตั้งนาน เพิ่งจะเข้าเรื่อง “ปลา” ที่เล่ามานี้อยากให้คุณแม่มีความสุขกับการรับประทานอาหาร ถ้าเลือกจะกินอาหารเพิ่มน้ำนมอย่างเดียว คุณภาพของน้ำนมอาจจะไม่ดีพอ ต้องเสริมโปรตีนให้เยอะๆ ปลาจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกับคุณแม่หลังคลอด
แต่บางคนก็บอกว่าปลาทะเลมีสารตกค้าง ซึ่งหากจะเลือกกิน ก็ต้องมั่นใจในความสะอาด ไปเลือกเองได้ก็ควรเลือก และนำมาปรุงประกอบอาหารเอง
แม้ว่า “แกงเลียง” “ผัดขิง” “หัวปลี” ฯลฯ เป็นอาหารที่มีผู้แนะนำว่าควรกินหลังคลอด ก็ไม่ได้หมายความว่าต้องกินทุกมื้อ สามารถคละกันได้ และพยายามกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ มีโปรตีน ไฟเบอร์ ให้เพียงพอที่ร่างกายจะใช้
เนื้อสัตว์ประเภทโปรตีนสำคัญมาก เพราะจะช่วยซ่อมแซมร่างกายของคุณแม่ และส่งต่อเป็นกล้ามเนื้อให้กับเด็กๆ

ข้อมูลจากคุณหมอโรงพยาบาลพญาไท 3 แนะนำเรื่องปลาไว้ดังนี้
- หลังคลอดกินปลาดิบได้ไหม? >> ถ้าเป็นแซลมอน กินได้ แต่ต้องมั่นใจในความสะอาด ผ่านการแช่แข็ง ถ้าจะทำเองก็ต้องแช่แข็งอย่างน้อย 4 วัน เพราะการแช่แข็งเป็นการทำให้พยาธิในตัวปลาตาย ส่วนปลามากุโร่คุณหมอไม่แนะนำให้รับประทานเยอะ เพราะฉะนั้นจึงเป็นคำตอบให้กับคุณแม่ที่มีคำถามว่าหลังคลอดกินปลาแซลมอนดิบได้ไหม
- หลังคลอดกินปลานิล และปลาน้ำจืดได้ไหม? >> ปลาที่คุณหมอแนะนำ คือปลาเลี้ยง เช่น ปลาดุก ปลาช่อน ปลาสวาย ในปลาเลี้ยงจะมีปริมาณโอเมก้า 3 ที่ปลาได้จากอาหารเลี้ยงปลาสูง หากใครกังวลความสะอาดของปลาทะเล ก็รับประทานปลาน้ำจืดเลี้ยงได้
- กินปลาได้เยอะแค่ไหน? >> ปริมาณที่เหมาะสมสำหรับปลาทะเล คือครั้งละ 1 อุ้งมือ กินได้ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ทั้งคนท้องและหลังคลอด ได้แก่ ปลาแซลมอน, ปลาทู, ปลากะพงดำ, ปลาหิมะ, ปลาดุกทะเล, ปลาจาระเม็ด, ปลาลิ้นหมา ส่วนปลาที่แนะนำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง คือ ปลาเก๋า, ปลากะพงแดง, ปลามากุโร่ ส่วนปลาที่ไม่แนะนำให้รับประทานเลย คือ ปลาอินทรี, ปลาฉนาก, ปลาฉลาม
ส่วนปลาตามแหล่งน้ำธรรมชาติ หากไม่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรม ก็นำมารับประทานได้ ต้องทำความสะอาดให้หมดจด ควักไส้ ตัดส่วนหัวออก เอาเฉพาะเนื้อมาทำให้สุก ในช่วงเดือนแรกหลังคลอดต้องระมัดระวังไม่ให้ท้องเสีย ถ้าคุณแม่ท้องเสียขึ้นมา จะลำบากมากๆ เลยค่ะ
ต้นเป็นกำลังใจให้คุณแม่ทุกคนนะคะ
เขียนจบแล้วรู้สึกอยากกินปลาช่อนเผาขึ้นมาทีเดียว
สำหรับคุณแม่ที่กำลังตามหาโค้ดส่วนลดสำหรับซื้อสินค้าแม่และเด็กคลิกเก็บโค้ดได้ที่นี่
>> โค้ดส่วนลด Shopee สินค้าแม่และเด็ก
>> โค้ดส่วนลด Lazada สินค้าแม่และเด็ก
ด้วยความปรารถนาดีจากว่าที่คุณแม่มือใหม่ ♥

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ได้ที่ >> สารบัญ Siwika Maternity <<
หรือพูดคุยกันได้ทาง Facebook.com/tonhomsiwika นะคะ
ที่มา : เว็บไซต์ รพ.พญาไท
2 Comments