ลูกหย่านมแล้วเป็นอย่างไรบ้าง?
เดือนกันยายนนี้ มีเพื่อน ๆ คลอดน้อง นับได้ 5 คน (ถือว่ามากทีเดียว) จากแต่ก่อนที่เหมือนจะมีเราคนเดียวในกลุ่ม แล้วต้องรอ 3 – 4 เดือนกว่าจะมีแม่ลูกอ่อนวัยเดียวกัน และพอเราต้องมาทำงานก็อยากจะมีเวลาอยู่กับลูกมากขึ้น เวลาเห็นเด็กเกิดใหม่แล้วรู้สึกเรามีพลัง มีกำลังใจ นึกถึงความเหนื่อยที่เราผ่านมาตอนแรก ๆ รวมถึงอาการเจ็บแผลผ่าคลอดที่ยากต่อการลืมของคุณแม่หลาย ๆ คน
ใจหายเล็ก ๆ เมื่อตื่นเช้ามานมไม่คัด บีบนมแล้วน้ำนมไม่ออก ไม่ไหลพุ่งเหมือนเมื่อก่อน .. เพราะ Moment จับลูกเข้าเต้า มัน Happy อย่างบอกไม่ถูก อิจฉาแม่ที่ไม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้านและพกลูกไปได้ด้วยทุกที่

นึกถึงตอนคลอดแรก ๆ ที่น้ำนมหายไปช่วงหนึ่ง แล้วเราก็กินยากระตุ้นให้น้ำนมกลับมาอีกครั้ง ในตารางวัคซีน คุณหมอก็มีถามว่าตั้งใจจะให้นมแม่ด้วยตัวเองจนถึงวัยกี่เดือนของลูก เราก็ติ๊กไว้ที่ 6 เดือน ทั้งที่อยากจะให้นมแม่ให้นานที่สุด เป็นปี เป็นขวบก็ได้ แต่ในวันนี้พอเราได้ออกมาทำงานน้ำนมก็หายไปเองในเดือนที่ 9 พอดิบพอดี
แม้ว่าลูกสาวยังอ้อนขอเต้าอยู่เรื่อย ๆ และลักษณะของหัวนมเราก็แตกต่างไปจากเดิมจากก่อนมีลูกไปเรียบร้อย (หมดความเซ็กซี่ไปเลย) กลางคืนเขาก็มีร้องผวา และฝันร้าย แล้วก็หันมาหาหัวนมแม่จึงจะสยบ แม้ว่าน้ำนมจะไม่มีแล้ว แป้งหอมก็รู้สึกมีความสุขที่ได้อบอุ่นดูดเต้า เราก็เรียกกันเล่น ๆ ว่า ทักษะอมเต้า
หย่านมจำเป็นอยู่ไหม?
ว่ากันว่าตอนให้นมถ้าลูกมองหน้าแล้วน้ำนมจะไหลปรี๊ด .. แต่สำหรับผู้เขียนนั้นไม่ค่อยเป็นเท่าไหร่ น้ำนมจะไหลมากไหลน้อยขึ้นอยู่กับว่าวันนั้นเรากินอะไร? ตอนแรกได้ยินหลาย ๆ คนหาวิธีหย่านม ทั้งเอาลิปสติกมาทาให้ดูเป็นเลือด หรือว่าเอาบอระเพ็ดขม ๆ มาทาที่หัวนม แต่สำหรับแป้งหอมแล้ว ว่านอนสอนง่ายมาก ถ้าไม่ให้กิน ก็ไม่ร้องเรียกขอเอง
วิธีการทำให้น้ำนมหมด..ตามธรรมชาติ
ได้ยินมาว่าถ้าต้องการให้น้ำนมหมด เพียงแค่งดให้นมไป 5 วัน น้ำนมก็จะหายไปเองแล้ว วิธีนี้เป็นวิธีง่าย ๆ ที่หลายคนลองแล้วน้ำนมก็หายไปจริง ๆ แต่น้ำนมจะมีไปตลอดจนกว่าลูกจะฟันแท้ซี่แรกขึ้น แต่การที่คุณแม่หลายคนเลิกให้นมลูกก่อนก็มีเหตุผลเรื่องความสะดวก และตามกรรมพันธุ์ กับอาหารการกิน โดยเฉลี่ยเดือนที่น้ำนมหายไปหมดเองของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน
สำหรับท้องแรก ลูกคนแรกนี้ ผู้เขียนน้ำนมหมดแล้วตั้งแต่ 9 เดือน ลองพยายามกินยาแล้วก็กู้กลับมาได้นิดหน่อยแต่ก็กลัวว่าหากกินเป็นประจำยาจะมีผลกับร่างกาย แล้วจากการปรึกษาแพทย์ วัยนี้ลูกสามารถรับสารอาหารโปรตีนต่าง ๆ จากอาหารได้แล้วก็ไม่ต้องกังวลว่าลูกจะเติบโตไม่ไปเป็นตามเกณฑ์มาตรฐาน
อ่านเรื่องราวอื่น ๆ เพิ่มเติม ได้ที่นี่ :
- ค่าใช้จ่ายของวัคซีนจำเป็นและวัคซีนเสริมสำหรับทารก
- ทารก อุ้มเรอไม่ออก ท้องอืดมีลม ต้องทำอย่างไร?
- หัวนมสั้น น้ำนมไม่พอ ต้องซื้ออุปกรณ์อะไรมาช่วย
- [รีวิว] เปรียบเทียบถุงเก็บน้ำนม 5 ยี่ห้อ ที่ใช้จริง
- รู้จักกับจุลินทรีย์ปรับลำไส้เด็กผ่าคลอด ที่เขาว่ากันโคลิก