วันนี้มีนัดฝากครรภ์กับคุณหมอที่ รพ. เปาโล พหลโยธินเหมือนเดิม ด้วยความที่เมื่อคืนไปงานแต่งเพื่อน (คนที่ได้ดอกไม้งานแต่งของผู้เขียน) ก็ค้างคืนที่บ้าน และตอนเช้าแฟนรีบขับรถมาที่โรงพยาบาล มานั่งกินข้าวกันหน้าโรงพยาบาลก่อน ..
นอกจากนัดฝากครรภ์แล้ว ยังมีนัดอบรมคลาสโภชนาการในตอน 8.30 น. มาถึงโรงพยาบาลก็เอาสมุดฝากครรภ์และใบนัด ไปวางไว้ที่แผนกสูติชั้น 4 ก่อน หลังจากนั้นก็ขึ้นไปชั้น 11 เพื่อเข้าคลาสอบรม ไปถึงก็เจอกับเจ้าหน้าที่ และ สปอนเซอร์หลายเจ้ากำลังจัดของ 4-5 โต๊ะ ไอ้เราก็ตกใจว่า เห็นมีลงชื่อกันแค่ 7 คน มีแบรนด์สปอนเซอร์มาจัดเต็มขนาดนี้เลยหรอเนี่ยะ!


ซึ่งก่อนร่วมงาน สปอนเซอร์ก็เดินมาแจกแบบสอบถาม กรอกประวัติของคุณแม่แต่ละท่านถึงที่โต๊ะ และหลังจากนั้นก็ให้นำแบบสอบถามไปแลกของสมนาคุณที่บูธด้านหน้า แต่เสียดายที่ยังไม่ใกล้คลอด ก็เลยรู้สึกว่าถ้าซื้อไปล่วงหน้า เป็นปีกว่าจะได้ใช้ ในใบสอบถามก็จะถามว่า ทราบข่าวสาร และรู้จักผลิตภัณฑ์ จากที่ไหนบ้าง? ไอ้เราก็เคยเป็นแอดมินเพจ กองบรรณาธิการ และ Content Writer ใน List ที่มีอยู่ในนั้นด้วย เห็นแล้วเป็นปลื้มที่งานเป็นที่รู้จักในหมู่ Brand แล้ว เย่!



Review Class อบรมพ่อแม่มือใหม่ เปาโล พหลโยธิน (คลาสโภชนาการ)
วันนี้มีหัวข้อ 3 เรื่อง ดังนี้ 1) โภชนาการก่อนและหลังคลอด 2) การอาบน้ำเด็ก และ 3) วัคซีนและการดูแลเด็กหลังคลอด ซึ่งหลังจากวิทยากรมาบรรยายก็เพิ่งรู้ว่า คลาสนี้เปิดให้คนที่ไม่ได้ฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลเปาโลมาฟังได้ อาจจะมีการประชาสัมพันธ์ตามนิตยสาร และ Facebook บ้าง แต่ถ้าผู้เขียนไม่ได้เห็นที่แผนกสูติ ก็คงไม่ได้มาอบรม
ก่อนเริ่มอบรม ทางเปาโลก็จะให้ Gift Set
แก่ผู้ที่ลงทะเบียน มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง?







ของฟรีทั้งหมด
(ภาพหลังจากเอามานั่งจัดทั้งหมดที่บ้าน)
V
V
V
ซึ่งอันนี้ไม่ได้ชมนะ ในส่วนเนื้อหานี่ดีมาก ๆ รู้สึกว่าได้ฟังจาก Expert จริงๆ เพราะคุณหมอที่มาพูดก็มีประสบการณ์ทำงาน 17 ปี และยังเชี่ยวชาญทั้งเรื่องเด็กและภูมิแพ้ (เท่ากับว่าต้องเรียนต่อมาหลายใบปริญญาทีเดียว) ส่วนใหญ่จะเป็นคุณหมอที่ไม่ค่อยมีเวลา แต่นี่ได้มีโอกาสมาฟังฟรี ๆ
จากที่เคยทำงานจัดอีเว้นท์งานอบรม Mother Class มาเองกับงานก่อนหน้านี้ และจากที่เคยไปเห็นงานของที่อื่น Mother Class ของเปาโล พหลฯ จัดแบบเล็ก ๆ แต่อบอุ่น คนที่มาพูดเป็นผู้รู้จริง และข้อมูลอัพเดททันสมัยมาก อย่างเรื่องการป้อนอาหาร และ การใช้ผ้าห่อตัวลูก ซึ่งตอนแรกก็นึกว่าจะเป็นพยาบาลดุ ๆ มาพูด เหมือนที่เพื่อนเคยเจอที่อื่น
1) โภชนาการก่อนและหลังคลอด
ตอนแพ้ท้อง กินน้ำขิงช่วยลดอาการแพ้ท้องได้มาก แต่หากอายุครรภ์เริ่มมากขึ้นก็ไม่ควรจะกิน เพราะว่าขิงมีฤทธิ์บีบมดลูก แต่หากคลอดแล้วจะให้นม ให้ดื่มน้ำขิงอุ่น ๆ ยิ่งอุ่นเกือบร้อนยิ่งดี เพราะจะทำให้น้ำนมพุ่งปรี๊ด แต่ก็มีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอาหารตอนคลอด ดังนี้
- ตั้งครรภ์
ตามไทม์ไลน์ เรื่องอาหารของเด็ก ต้องเริ่มดูแลมาตั้งแต่ที่เด็กอยู่ในตัวแม่ เด็กจะต้องใช้พลังงาน 500 กิโลแคลอรี่ ก็เท่ากับว่าทั้งวันแม่ต้องกินข้าวเพิ่ม มื้อละ 1 ทัพพี ส่วนเนื้อสัตว์ก็เพิ่มมากขึ้นแต่ก็ไม่ต้องมาก เพราะได้พลังงานจากข้าวแล้ว และต้องกินอย่างนี้ไปจนหลังคลอด ตลอดระยะเวลาให้นม 6 เดือนนั้นด้วย (นักโภชนาการบอกว่า ระหว่างตั้งครรภ์ จะมีน้ำหนักเพิ่มเป็น 16 – 20 กิโลกรัม)
- เด็ก 1 วัน – 1 เดือนแรก1 วันแรก – กระเพาะอาหารมีขนาดเท่า Cherry
-
- 3 วันแรก – กระเพาะอาหารมีขนาดเท่า Walnut
-
- 7 วันแรก – กระเพาะอาหารมีขนาดเท่า Apricot
-
- 30 วันแรก – – กระเพาะอาหารมีขนาดเท่า ไข่ไก่ 1 ฟอง
- 1-6 เดือนแรกเด็กจะมีไตเท่าเมล็ดถั่ว ดังนั้นไม่ควรจะให้กินอะไรแปลก ๆ และไม่ควรให้ดื่มน้ำจากขวดนม สามารถกินได้นิดหน่อย ให้นมในวันที่อากาศร้อนเท่านั้น
-
- เด็กทารกจะกินวันละ 7 มื้อ และตื่นนอนทุก 1 ชั่วโมง
- 6 เดือนขึ้นไปในกรณีที่คุณแม่ไม่ได้กินเยอะ ๆ เหมือนแต่ก่อน น้ำนมแม่จะเริ่มหมดคุณภาพตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป
-
- กระเพาะจะเริ่มย่อยได้ในช่วงนี้
-
- ฟันจะเริ่มขึ้น 2 ซี่
-
- เมนูแนะนำก็คือ ข้าวบดฟักทอง, แครอท, ตำลึง, ไข่แดง
-
- กินเมนูอาหารหยาบ มื้อละ 2-3 ช้อนโต๊ะ / เป็นเนื้อสัตว์ได้ 1 ช้อนชา
**ช่วง 5 เดือน แต่นักโภชนาการให้ฝึกทำอาหารเหลวให้เด็ก ในช่วง 10.00 – 11.00 น. เพื่อให้เด็กฝึกตวัดลิ้น ไม่ได้ต้องคาดหวังว่าเด็กจะกินหมด
**ให้อาหารแปลก ๆ ทีละอย่าง เพื่อเฝ้าดูการแพ้ ใน 2 – 3 วัน เดี๋ยวนี้เด็กจะมีอาการแพ้อาหารบางชนิด เช่น ข้าวสาลี ไข่ อาหารทะเล ดังนั้นวิธีการทำอาหารบด ต้องเริ่มทำทีละอย่าง ไล่ตั้งแต่ประเภทโปรตีนที่ร่างกายควรจะได้รับ และให้เหมือน ๆ กัน 2 – 3 วันก่อน ค่อยเปลี่ยนไปให้เมนูอื่น เพื่อจะได้ดูว่าแพ้อะไรบ้าง
- 7 – 8 เดือนมีอาหารที่ต้องกินต่อวัน ตามมื้อที่เพิ่มขึ้น และเริ่มให้กล้วยผสมข้าวได้
-
- กินเมนูอาหารหยาบ มื้อละ 3-4 ช้อนโต๊ะ (ในขนาด 3 ใน 4 ถ้วย) / เป็นเนื้อสัตว์ได้ 2 ช้อนชา
- 9 – 11 เดือน ขึ้นไปเด็กจะกินทั้งหมด 8 มื้อ
-
- ก็จะกินอาหารบดได้เพิ่มขึ้น
ช่วงเวลาที่เหมาะจะให้อาหารบดก็คือช่วง 10.00 / 17.00 น. ซึ่งเป็น Relax Time ของครอบครัว และหลังจากลูกเริ่มมีพัฒนาการในการกินอาหารหยาบได้แล้ว ก็ต้องฝึกให้นั่งกินอยู่กับที่ จะเลอะก็ไม่เป็นไร ต้องมีผ้ากันเปื้อนให้รู้จักเช็ดมือเพื่อฝึกวินัยไปในตัวด้วย และพ่อแม่ก็จะไม่เหนื่อยป้อน ห้ามป้อนไป ให้วิ่งเล่นไป และส่วนใหญ่เด็กก็จะดื่มนมแม่ถึงประมาณวัยขวบครึ่ง เนื่องจากเขาเริ่มมีฟันและจะกัดหัวนม
2) การอาบน้ำเด็ก
ต่อมาก็เป็นการฝึกอาบน้ำเด็ก ก็จะมีสปอนเซอร์เป็น Dnee นำผลิตภัณฑ์มาสนับสนุน และมีพร็อพเป็นพวกอ่าง และผ้า มาให้ลองใช้ห่อตัว ตอนแรกก็ไม่เคยรู้ว่าก่อนสระผมก็ต้องห่อตัวก่อน เพื่อสระผม ไม่อย่างนั้นแล้ว แขนขาเด็กดิ้นไปดิ้นมา วันนี้พาคุณสามีมาด้วย ก็ฝึกห่อตัวกันสนุก ๆ ออกมาเหมือนห่อขนมยังไงไม่รู้
ก่อนหน้านี้สงสัยเรื่องกาละมังอาบน้ำ คือควรซื้อแบบขนาดใหญ่แค่ไหน ที่ห้องมีกาละมังซักผ้าอยู่เยอะแยะ ไม่ค่อยได้ใช้ เอามาอาบน้ำลูกได้ไหม? คือจริง ๆ แล้วถ้าไม่ซื้ออ่างที่หน้าตาแบบ Bath ก็ใช้อ่างแบบไหนก็ได้ แต่อ่างที่ออกแบบมาสำหรับเด็กนี้มันจะมี Function ให้ใช้ง่ายกว่า ในตอนถือจับและวางเด็ก และไม่จำเป็นต้องเอาไปอาบในห้องน้ำ ยกมาอาบตรงไหนก็ได้ และต้องเป็นห้องที่ไม่มีลมโกรก
อีกอย่างก็คือ เด็กอาบน้ำค่อนข้างร้อนสำหรับผู้ใหญ่ทีเดียว เพราะว่าเวลาอยู่ในท้อง ท้องคุณแม่จะ 37 องศา ดังนั้นอาจจะต้องผสมน้ำให้ร้อนกว่าที่คิดนิดหน่อย โดยใช้มือแตะ แต่คุณพยาบาลแนะนำว่า ต้องมี Thermometer วัดยิ่งดี และการอาบน้ำที่ประสบความสำเร็จ เพื่อให้เด็กรู้สึกสบายตัวก็คือ ก่อนและหลังอาบน้ำ ร่างกายของน้องต้องไม่แตกต่างกันมาก (ก็เลยคิดว่าจะวาง Thermometer ไว้ในน้ำ ตอนผสมให้อาบก่อน)

และจะมี Trick นิด ๆ หน่อย ๆ ก็คือ
- นอกจากน้ำและกาละมังแล้ว ต้องมี น้ำต้มสุก หรือ น้ำเกลือล้างแผล ไว้เช็ดหน้าเช็ดตาเด็กด้วย รวมถึง แอลกอฮอล์ เอาไว้เช็ดสะดือ ซึ่งโรงพยาบาลจะเตรียมไว้ให้ได้ใช้หลังออกจากโรงพยาบาล เผื่อไว้ 2 สัปดาห์ และหลังจากนั้นก็ไปซื้อเพิ่ม ส่วนสบู่/แชมพู นั้น ใช้เพียงแค่ 1 หยดเมล็ดถั่วเขียว
- แป้งเด็ก อาจจะไม่จำเป็น หากเช็ดตัวลูกแห้งสนิท สิ่งสำคัญคือการดูแลเรื่องความสะอาด
- การทำความสะอาดสะดือ สำคัญมาก ห้ามให้สะดือมีกลิ่น ต้องเช็ดสะดืออย่างเบา ๆ โดยใช้ผ้าก็อต
- ระวัง รักแร้-ขาหนีบ-คอ ให้แห้งอยู่เสมอ ทาครีมได้
- อาบอย่างไรก็ได้ให้ถนัด และต้องอาบให้เร็ว ในห้องที่ไม่มีลมโกรก
นอกจากนี้ยังมีความน่ารักจุ๊บุ ก็คือ ทางโรงพยาบาลเปาโล จะ List สิ่งของที่ต้องเตรียมมาคลอด และมีถ่ายภาพ 20*30 นิ้วให้ ถ้าแม่อยากถ่ายรูปกับเบบี้ ก็ต้องแต่งหน้ามาสวย ๆ และโรงพยาบาลก็จะยื่นเบิกประกันสังคมให้ ก็ต้องเตรียมเอกสารมาให้ครบ ๆ นะจ้ะ
3) วัคซีนและการดูแลเด็กหลังคลอด
หาคลิปที่คุณหมอพูดไม่เจอ เดี๋ยวหาเจอแล้วจะเอามาลงนะคะ เป็นคุณหมอผู้หญิงหมวย ๆ แต่หน้าสวยมาก วันนี้ทาตาสีน้ำเงินด้วย Very Chic สุด ๆ เกือบลืมไปแล้วว่าคุณหมอพูดถึงการให้นม และอาการโคลิคพวกนี้ด้วย แต่ที่ผู้เขียนโฟกัสก็คือเรื่องวัคซีน มากกว่า
คือถ้าฝากครรภ์กับโรงพยาบาลรัฐ ก็จะไม่ได้รับวัคซีนบางตัว ต้องหาฉีดเองหลังคลอด และการคลอดนั้น หมอเด็กกุมารแพทย์ ก็จะมารับช่วงต่อจากหมอสูติฯ ที่นำเด็กออกมาจากครรภ์แม่ทันที ดังนั้นหลังจากที่ลูกออกมาจากร่างกายแม่แล้ว บทบาทของคุณหมอสูตินรี ก็จะลดลงทันที เพราะใจแม่จะไป Focus อยู่กับเด็ก และที่นี่จะวัดอาการตัวเหลืองต่าง ๆ และหากเป็นเด็กผู้ชายจะมีการตรวจ G6PD ด้วย (โรคแพ้โปรตีน) ซึ่งสมัยเรียนนั้น โรคนี้จะมาเจอตอนโตเป็นส่วนใหญ่ นวัตกรรมไม่เจอเร็วเหมือนทุกวันนี้
การให้ลูกดื่มนมจากเต้า จะทำให้แม่มีความสุขมาก และเด็กเองก็มีความสุข เพราะน้ำนมหยดท้าย ๆ ของแต่ละมื้อจะเป็นไขมันที่มีฮอร์โมนที่ส่งผลให้เด็กรู้สึกอิ่มเอม และมีความสุข รวมถึงเป็นภูมิคุ้มกัน (วัคซีน) จากธรรมชาติที่ไม่ต้องซื้อที่ไหนอีกด้วย
- การปั๊มนม ก็ยังไม่ดีเท่ากับการเอาลูกเข้าเต้าให้กินเอง ถ้าอยู่บ้าน มีเวลาอยู่กับลูก ก็ไม่ควรปั๊มทิ้งไว้ จะเสียคุณค่าสารอาหาร
- และอาการทีแม่แม่กลัว ก็คือ “โคลิก” ในเด็กทารกที่หาสาเหตุไม่ได้ว่าเป็นอะไร จะร้องไห้ไม่หยุด ปัจจุบันมียารักษาแล้ว
สมัยก่อนมีอยู่ยุคหนึ่งที่คิดว่า เด็กที่ดื่มนมแม่ จะเป็นครอบครัวที่ยากจนมาก หากมีเงินก็ต้องกินนมผง นมผสม ตามฐานะ แต่ปัจจุบันหลักฐานการวิจัยต่าง ๆ ตอบโจทย์ว่า นมแม่ดีที่สุด นมผสมสำหรับเด็กเป็นแค่นมเสริมอาหารเป็นทางเลือกให้แก่คุณแม่ที่ให้นมไม่ได้จริง ๆ เท่านั้น
ทั้งหมดนี้ได้ฟังแล้วก็ได้ความรู้เยอะมาก สรุปเป็นเลกเชอร์เบา ๆ ได้ แต่ก็กลับกังวลกลัวว่าเราจะทำได้ไหม? กลายเป็นว่ายิ่งเรียนรู้มาก ๆ ยิ่งกังวลเพิ่มกลัวทำออกมาได้ไม่ดี กลัวมีน้ำนมและสารอาหารไม่พอให้แก่ลูก อย่างไรก็ดีก็จะพยายามดูแลตัวเอง พยายามกิน และกินให้เยอะขึ้น !
9 Comments