รีวิวบันทึกฝากครรภ์ โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน
จะว่าไป บางโรงพยาบาลก็ให้ บางโรงพยาบาลก็ไม่ได้ให้สมุดฝากครรภ์ แต่ส่วนใหญ่ก็จะยังคงให้สาว ๆ เอาพกติดตัวไว้อยู่ จะมีขนาดกะทัดรัดเหมาะสำหรับพกพาเหมือนสมุดวัคซีนเด็ก ในนั้นจะเขียนข้อมูลการนัดฝากครรภ์แต่ละครั้ง ตามความเข้าใจคือ ต้องไปเดือนละครั้ง ครบ 9 เดือน ก็ต้องไป 9 ครั้ง ค่าใช้ครั้งละประมาณ 800 – 1,200 บาท รวมแล้วประมาณ 10,800 บาท (แต่ตลอดอายุครรภ์รวมแล้วประกันสังคมให้เบิกได้ 1,000 บาท เท่านั้น)
**หมายเหตุ รีวิวครั้งนี้ทางครอบครัวจ่ายเอง ไม่ได้รับการสนับสนุนจากทางโรงพยาบาลแต่อย่างไร

ตอนนี้มีประเด็นเน็ตไอดอลสาวอายุ 23 ปี ออกมาบอกว่าท้องกับดาราแฟนหนุ่มวัย 20 ปี แต่ว่าชาวเน็ตจับผิดว่าท้องจริงหรือท้องแกล้ง และถามหาสมุดฝากครรภ์กัน ซึ่งเธอก็ไม่มีหลักฐานสมุดฝากครรภ์ออกมายืนยันหลังจากตรวจพบว่าตั้งครรภ์ แต่ก็ถูกสืบมาได้ว่าฝากครรภ์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ซึ่งก็ขึ้นชื่อว่าเป็น 1 ในโรงพยาบาลฝากครรภ์ที่บริการดี ราคาสูง .. แต่เพื่อน ๆ ชาวเน็ตคนหนึ่งก็ออกมาบอกว่า ฝากครรภ์โรงพยาบาลนี้ไม่ต้องใช้สมุดฝากครรภ์กระทั่งคลอดเลยนะ !
ของผู้เขียนฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลเปาโล สาขาสะพานควาย อย่างที่เคยเล่าไปในบทก่อน ๆ แล้วว่า ปลื้มคุณหมอมาก แต่วันแรกที่ไปก็แปลกใจเหมือนกันว่าทำไมไม่ได้สมุดฝากครรภ์เหมือนคนอื่น ๆ แต่ตอนหลังก็รู้แล้วว่าต้องรอให้อายุครรภ์เกิน 10 – 12 สัปดาห์ก่อน
สมุดฝากครรภ์ของโรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน หน้าตาจะเป็นใบแผ่นพับ 5 ทบ หน้าแรกจะเป็นช่องให้กรอกชื่อนามสกุล และ HN ของคุณแม่ ส่วนด้านล่างพยาบาลจะติดสติ๊กเกอร์แพ็คเกจฝากครรภ์ไว้
1 ข้อมูลสำหรับทำสูติบัตรบุตร
ด้านในจะให้กรอกข้อมูลลูกเพื่อทำสูติบัตร ได้แก่ ชื่อสกุล เด็ก, ชื่อสกุล บิดา–มารดา และที่อยู่ที่จะให้แจ้งเข้าทะเบียนบ้าน
2 ประวัติมารดา
ตรวจโรคเลือดและการเจ็บป่วยในอดีต
- เลือดจางไหม?
- เป็นพาหะ ธาลัสซีเมียหรือเปล่า
- ประจำเดือนครั้งสุดท้าย
- คาดคะเนการคลอด
3 ผลการตรวจสุขภาพมารดา
ผลตรวจร่างกายทั่วไป ที่นอกเหนือจากน้ำหนักส่วนสูง
- ตรวจปอด
- ตรวจเต้านม
- ตรวจหัวใจ
4 ผลการตรวจห้องปฏิบัติการ
- ผลเลือด
- กรุ๊ปเลือด
- ตรวจ RH เลือด
- ตรวจเลือดจาง
- ตรวจ HIV
- อื่น ๆ (ของผู้เขียนคือฝ่ายผู้ชายเป็นพาหะธาลัสซีเมีย, ฝ่ายหญิงปกติ)
5 ติดตามผลในทุก ๆ เดือน
- อายุครรภ์
- น้ำหนัก
- ความดัน
- อาการบวม
- ระดับมดลูก
- ท่าเด็ก
- อัตราหัวใจเต้นของเด็ก
- ตรวจน้ำตาล และ อัลบูมีนในปัสสาวะ
- อาการผิดปกติอื่น ๆ
- การนัดครั้งต่อไป
- คำแนะนำอื่น ๆ
นอกจากนี้สมุดฝากครรภ์ยังมีพื้นที่โฆษณาด้านโภชนาการคุณแม่, การให้นมลูก และคำแนะนำอื่น ๆ เช่น ไม่ควรกินอะไรบ้าง (ชา, กาแฟ, น้ำอัดลม) อย่างลูกชิ้นนี่ก็งง ๆ ว่าทำไมห้าม แต่อะไรที่คิดว่าผิดปกติก็ควรไปพบคุณหมอ แม้เจ็บป่วย ท้องเสีย เป็นไข้ พวกนี้ก็ห้ามละเลย
ในระยะก่อน 3 เดือน (หรือ 15 สัปดาห์แรก) จะได้รับเพียงแค่ Folic กับ วิตามินบี เพียง 2 อย่าง หลังจากนั้นจะได้รับ แคลเซียมเพิ่มเติม และจะได้รับยาตัวอื่นเพิ่มเติมอีกภายหลังตามอายุครรภ์ของคุณ
ในเล่ม ถ้าซื้อแพ็คเกจคลอดกับโรงพยาบาลเปาโล พยาบาลก็จะแมคคูปองส่วนลดติดไว้ให้
การออกสมุดฝากครรภ์ ไม่ได้ออกให้ง่าย ๆ เพราะนำไปใช้เป็นหลักฐานออกสูติบัตรเด็ก, เป็นหลักฐานทำประกันกรณีคุณแม่ทำประกัน PA แบบคุ้มครองการตั้งครรภ์ รวมถึงใช้เบิกประกันสังคมได้ด้วย ดังนั้นคุณหมอจึงไม่ซี้ซั้ว ออกให้ทั่วไปโดยไม่มีภาวการณ์ตั้งครรภ์ และในช่วงที่ยังเสี่ยงแท้ง |
สรุปแล้วคือ สมุดฝากครรภ์ จะได้รับก็ต่อเมื่ออายุครรภ์เลยระยะความเสี่ยงที่อาจจะแท้งได้ และคุณหมอได้ให้ตรวจเลือดเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นก็จะเขียนบันทึกไว้ในสมุดฝากครรภ์เพื่อให้ว่าที่คุณแม่ได้พกติดตัวตลอดเวลา เผื่อเป็นลมหรือไปมีภาวะใกล้คลอด หรือ ต้องเข้ารับรักษาตัวในโรคอื่น ๆ จะได้มีสมุดฝากครรภ์นี้ไว้ประกอบการพิจารณาของคุณหมอท่านอื่น ๆ ด้วย (โดยเฉพาะทันตแพทย์)
12 Comments