เรื่องของ “หู” และ “การได้ยินเสียง” ของเด็กแรกเกิด

หูทารกกับการได้ยิน

เมื่อคลอดลูกแล้ว สิ่งที่ต้องติดตามต่อคือพัฒนาการของลูก โดยปัจจุบันนี้การใช้อุปกรณ์สมาร์ทโฟน สื่อโทรทัศน์ วิทยุ มักตั้งวางอยู่ใกล้ๆ กับเด็ก กุมารแพทย์จึงแนะนำว่าไม่ควรมีสิ่งเหล่านี้อยู่ในห้องเลี้ยงเด็กแรกเกิด เพราะเกี่ยวข้องกับการได้! ยินเสียงของเด็ก

ทารกแรกเ กิดจะเริ่มสังเกตสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัว แม้ว่าเราจะเห็นพวกเขานอนทั้งวัน แต่เมื่อมีเสียงแปลกๆ เขาก็รับรู้ได้ คุณหมอที่โรงพยาบาลจะแนะนำว่าช่วงเดือนแรก ให้ใช้วิธีร้องเพลง หลังจากนั้นก็เริ่มใช้กล่องดนตรี ของเล่นกรุ๊งกริ๊ง แต่ที่ห้ามก็คือพวกโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ก

ใครที่คิดว่าเปิดเพลงเด็กจากมือถือ แท็บเล็ต ให้ทารกฟัง ต้องเลิกเลย

เสียงที่ทารกได้ยินจะส่งผลต่อพัฒนาการของเขา ทั้งการเคลื่อนไหว การสังเกต และพัฒนาการทางสมอง เสียงที่เกิดจากอุปกรณ์ต้นกำเนิดเสียงธรรมชาติจะมีรายละเอียดของเสียงมากกว่าเสียงที่สำเร็จรูปจากมือถือ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หากคุณเปิดจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้ลูกฟัง ลูกจะเลียนเสียงพูดได้ไม่ชัด

4-5 เดือน เด็กจะเริ่มหันหาเสียงที่ได้ยินได้ แม้ว่าอาจจะไม่ได้หันตรงเป๊ะ แต่เขาก็จะพยายามฟัง พยายามหันร่างกายไปหาต้นกำเนิดเสียง ช่วงเวลานี้กุมารแพทย์จะทดสอบการได้ยิน และเป็นช่วงเวลาที่เริ่มสังเกตการได้ยินเสียงของเด็ก กับปัญหาทางร่างกาย แต่บางคนที่มีปัญหาหูหนวก หูไม่ได้ยิน จะต้องติดตามต่อ บางคนพบในวัยก่อนเข้าโรงเรียน หรืออนุบาลไปแล้ว

การรักษาหูของลูกในยุคที่มือถืออยู่ใกล้ตัวพ่อแม่เป็นเรื่องยากมาก หรือบ้านที่เลี้ยงลูกด้วยทีวี จะพบปัญหาว่าลูกไม่พูด ลูกพูดช้า ลูกพูดไม่ชัด ถ้าเราเลี้ยงแบบให้เด็กอยู่นิ่งๆ เลี้ยงง่ายๆ ก็จะไม่มีพัฒนาการ

เคล็ดลับการรักษาการได้ยินเสียงของเด็กทารกในช่วงขวบแรก

  • วางมือถือเอาไว้นอกห้อง หรือไว้ไกลจากเด็กทารกที่สุด
  • ปิดทีวี ไม่เลี้ยงเด็กทารก แรกเกิด – 3 เดือนไว้ใกล้กับทีวี
  • หากล่องดนตรี หรือเครื่องดนตรีที่เล่นง่ายๆ ไว้เล่นกับลูกวัย 3 เดือนขึ้นไป
  • หาเพลงไว้ร้องเล่นกับลูกตั้งแต่ตั้งครรภ์ช่วง 7 เดือน เมื่อคลอดแล้ว เสียงของพ่อหรือแม่จะทำให้ลูกอบอุ่น หยุดร้องไห้งอแง
  • สังเกตการได้ยินของลูก
  • งดการใช้สำลีพันก้าน (คอตตอนบัด) ปั่นหูลูก เช็ดใบหูตามเหมาะสม
  • สังเกตการได้ยินของลูกตั้งแต่แรกเกิด หากพบอาการผิดปกติ รีบพาไปพบแพทย์
  • ไม่วางลูกไว้กับพื้นบ้าน เพราะแมลง เห็บ หมัด ชอบเข้าไปในหูเด็ก

หากช่วง 8 เดือนแล้วลูกยังไม่เริ่มอ้อแอ้ ไม่พึมพำเสียงตาม ไม่หันตามเสียง ก็ควรพาไปเช็กกับคุณหมอพัฒนาการสักครั้ง ค่าใช้จ่ายไม่มากเลยค่ะ คุณหมอจะมีวิธีการเช็กอาการที่ละเอียดกว่าเรา แม้ว่าเด็กแต่ละคนจะมีพัฒนาการช้าเร็วไม่เหมือนกัน แต่เราก็ควรเลี้ยงเขาอย่างที่เราทำได้ดีที่สุด

เป็นกำลังใจให้คุณแม่ทุกคนนะคะ

สมัครสมาชิก Shopee Mom’s Club รับส่วนลด และเก็บโค้ดส่งฟรี รวมสินค้าแม่และเด็กชั้นนำ คลิกที่นี่

ด้วยความปรารถนาดีจากว่าที่คุณแม่มือใหม่ ♥

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ได้ที่ >> สารบัญ Siwika Maternity << 
หรือพูดคุยกันได้ทาง Facebook.com/tonhomsiwika นะคะ

Advertisement

1 Comment

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.