ทำยังไงดี? น้ำนมแม่หด ไม่มีนมแม่เลี้ยงลูก

อย่าโทษตัวเองที่ไม่มีน้ำนม

ไม่ผิด! หากคุณจะเลือกใช้นมเสริม เป็นนมผงชงผสมให้ลูกดื่ม ในช่วงที่น้ำนมมารดามีปัญหา อาทิ แม่ผ่าคลอด พักผ่อนไม่เพียงพอ แม่มีภาวะซึมเศร้า น้ำนมไม่ออก หรือแม่ได้รับยาบางอย่างรักษาตัวอยู่ จึงไม่สามารถให้นมลูกได้

มันอาจจะไม่ใช่เราที่โชคดีมีนมแม่ตั้งแต่วันแรกที่ลูกลืมตาดูโลก จากประสบการณ์ตรงของผู้เขียนเอง วันคลอด ต้องใช้เวลารอคลอด 7-8 ชั่วโมง และพยาบาลเนิร์สเซอร์รี่ก็เห็นว่าเราเหนื่อย จึงสอบถามความสมัครใจตามมาตรฐานของโรงพยาบาลว่า “คุณแม่ยินดีจะให้น้องได้รับนมเสริมไหมคะ?”

ซึ่งตรงนี้หมายความว่าเด็กจะได้รับนมชงผสมให้ตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งแน่นอนว่าเป็น “นมวัว”

การแพทย์สมัยใหม่ แนะนำว่า แม่ตั้งครรภ์ไม่ควรอัดนมวัวในช่วงท้อง หากแต่เดิมไม่ได้เป็นคนที่กินนมวัวเป้นประจำ หรือมีอาการแพ้นมวัวอยู่ก่อน ดูอย่างเจ้าของร้านมนต์นมสด ที่เคยให้สัมภาษณ์ลงนิตยสารเกี่ยวกับแม่และเด็ก ว่าตอนท้องก็กินนมเข้าไปเยอะมาก จนลูกออกมามีอาการแพ้นมวัว​..เพราะฉะนั้นควรกินแบบพอดีดีกว่าค่ะ

พอคลอดแล้วผู้เขียนก็เป็นอีกคนที่ตั้งใจจะให้นมแม่จนถึงอายุ 6 เดือน แต่แค่วันแรก ๆ ก็ต้องยอมให้โรงพยาบาลชงนมแล้ว เพราะไม่อย่างนั้นจะไม่ได้พักจริง ๆ และลูกมีอาการตัวเหลืองที่ต้องลดจำนวนนมแม่ในช่วง 14 วันแรกที่ยังตัวเหลืองอยู่ และมีอาการเครียดหลังคลอด น้ำนมหายไป 4 วัน ทีนี้ก็เกิดเป็นความ fail ว่าตัวเรามันไม่ดีหรือเปล่า? ที่ให้นมแม่ไม่ได้ ก็เลยต้องตั้งสติว่า “นมวัว”​ หรือนมผสม มันมีดี หรือ โทษอย่างไร?

นมวัวอันตรายกับเด็กแรกเกิดไหม?

คุณอาจจะตกใจ เพราะรู้ว่า เนื้อวัว เป็นอาหารที่ค่อนข้างย่อยยาก และน้ำนมวัว ก็ต้องย่อยยากตามด้วยเป็นธรรมดา แต่น้ำนมวัวที่นำมาทำเป็นนมผงสูตรเด็กทารกแรกเกิด (Infant) ซึ่งทางแบรนด์นมแต่ละยี่ห้อก็มีนวัตกรรมตัดสายโปรตีนน้ำนมวัว ให้เล็กลงจนทารกย่อยได้ง่ายมากขึ้น

แน่นอนว่า ไม่มีนมใดที่ดีที่สุดสำหรับทารก นอกจากน้ำนมแม่ เพราะมีสารอาหารหลายชนิดที่ต่อให้ใช้การดัดแปลงโมเลกุลนมวัวขนาดไหน ก็ไม่สามารถทดแทนสายโปรตีนแบบนมแม่ได้เลย

สำหรับเด็กทารกแรกเกิดนั้น เขาจะรับประทาน วันละ 10 -12 มื้อ หลังจากนั้นก็จะลดมื้อลง แต่กินเยอะขึ้นต่อมื้อ กระเพาะเด็กแรกเกิดยังเล็กอยู่มาก แต่ระบบการย่อยอาหารก็พร้อมจะย่อยน้ำนม หรือโปรตีนที่เป็นน้ำได้แล้ว

แม่ที่มีอาการซึมเศร้าหลังคลอดหนัก ๆ ที่ต้องได้รับยา โดยที่คุณหมอเป็นผู้สั่งจ่ายพิจารณาแล้วว่ายาอาจจะมีผลไปทางน้ำนม เด็กทารกก็จำเป็นต้องได้นมเสริมที่เป็นนมชงทั้งนั้น โดยมีทางเลือก เป็น นมแพะ, นมไก่, นมถั่วเหลือง, นมวัว เป็นต้น ซึ่งนมอื่น ๆ ก็จะมีราคาสูง คิดไปคิดมาถ้าให้กินต่อเนื่องในแต่ละเดือนจะมีค่าใช้จ่ายเฉพาะค่านมทารกที่สูงมาก ๆ

สาเหตุของน้ำนมหด

จากเดิมหากคุณเคยมีน้ำนมมาก่อน แล้วอยู่ ๆ น้ำนมหาย จากที่ปั๊มได้เป็นสาย เหลือปั๊มได้เป็นหยด หรือบางทีก็ไม่ออกเลย นั้นอาจมีสาเหตุมาจากหลายอย่าง อาทิ

  • น้ำนมหดจากความเครียด
  • น้ำนมหดจากการได้รับยาบางอย่าง
  • หัวนมตัน
  • ท่อน้ำนมไม่เปิด
  • หัวนมผิดปกติ ติดเชื้อ
  • ฯลฯ

ซึ่งผู้เขียนเองน้ำนมหายจาก “ความเครียด” และพอจะบอกว่าให้ไม่เครียด นั้นมันก็ทำยาก ไม่ได้จะแก้ได้ง่าย ๆ เลย ก็ต้องประคองตัวเองไม่ให้เป็นซึมเศร้าหลังคลอด

วิธีแก้ปัญหาถ้าน้ำนมไม่มีแล้ว

คือเริ่มปรึกษา “คลินิกนมแม่” หรือเพื่อน ๆ บรรดาแม่ ๆ ที่มีประสบการณ์ โดยเลือกสักหน่อย เอาคนที่มีพื้นฐานความรู้การเลี้ยงลูกที่น่าเชื่อถือ อย่างแม่ลูก 3 หรือ คุณแม่ที่ประสบความสำเร็จด้วยการให้นมเต้าเพียงอย่างเดียว และอย่าลืมที่จะ

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • สังเกตความเปลี่ยนแปลงของตัวเอง
  • อย่าคิดมาก
  • หากจะรับประทานยาเสริมน้ำนม ให้ปรึกษาแพทย์

เมื่อเลือกที่จะเสริมนมผงในบางมื้อเพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารแต่ละวันครบถ้วน พร้อมที่จะเติบโต ก็ต้องยอมรับตัวเองว่าไม่ใช่เรื่องผิดพลาดอะไร แต่ต้องกู้น้ำนมให้กลับมามีคุณภาพให้ดีที่สุด เด็กที่ได้รับนมวัวอย่างเดียว ก็ใช่ว่าจะไม่เติบโต อาจจะโตขึ้นเป็นเด็กเก่ง สุขภาพดี มีความสามารถก็ได้ แต่คุณแม่ก็ต้องพยายามให้น้ำนมเหลือง และ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลากหลาย เพื่อให้รับนิวคลิโอไทด์ อันเป็นสารตั้งต้นในการสร้างสารพันธุกรรมให้เด็กทารกได้เติบโต แข็งแรงนะคะ

 

ด้วยความปรารถนาดีจากว่าที่คุณแม่มือใหม่ ♥

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ได้ที่ >> สารบัญ Siwika Maternity << 
หรือพูดคุยกันได้ทาง Facebook.com/tonhomsiwika นะคะ

 

 

Advertisement

13 Comments

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.