[12] คนท้องผ่านประตู – ไม้กั้น รถไฟฟ้าได้ไหม?

ตั้งครรภ์ ผ่านเครื่องสแกนโลหะตามรถไฟฟ้า MRT – BTS – สนามบินได้นะ

หลีกเลี่ยงได้ที่ไหน? เมื่อ Working Women จะต้องเดินทางไปทำงานด้วยตัวเอง ผ่านการใช้บริการรถไฟฟ้า ทั้ง MRT และ BTS ซึ่งต้องผ่าน 2 ด่าน ก็คือ เครื่องสแกนโลหะ และ ไม้กั้นประตู ซึ่ง 2 อย่างนี้มีเลเซอร์ตรวจจับโลหะ และนับจำนวนคนที่เดินผ่าน ไหนจะเครื่องสแกนตามทางเข้าห้างใหญ่ ๆ ซึ่งบางทีก็อย่า Nerve จนเกินไป เดินผ่านได้ แต่อย่าไปยืนแช่เป็นชั่วโมงก็เท่านั้นเอง

ตกลงคนท้องผ่านเครื่องสแกนได้ไหม?

แม้กระทั่งเครื่องสแกนแบบ X-Rays เองก็ไม่มีปัญหาอะไร (ถ้ามีนักเทคนิครังสีควบคุมเครื่องอยู่) ตอนยังไม่รู้ว่าท้อง ไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลมา ต้องสแกนปอดด้วยเครื่อง X-Rays พอรู้ว่าท้องใน 2 สัปดาห์ตามมา ก็กังวลนิดหน่อยว่าจะเป็นอะไรหรือเปล่า? เพราะได้ยินมาว่าคนท้องไม่ควรเข้าเครื่อง X-Rays แต่ถ้าหากเราทำความเข้าใจ รู้จักกับคลื่นต่าง ๆ แล้วจะเลิกกลัวไปเอง สแกนได้ แต่ไม่ควรผ่านหน้าท้องโดยตรง และตั้งครรภ์อ่อน ๆ ไม่เกิน 3 เดือน ไม่ควรคลุกคลีอยู่กับพวกรังสี

 

1  รังสี X-Ray อันตรายกับคนท้อง หรือ เด็กในครรภ์ไหม?

เป็นเรื่องที่คนท้องทั่วโลกกังวล เพราะรังสีเอกซเรย์ เป็นคลื่น ionizing (คลื่นที่ทำให้พันธะระหว่างอะตอมโมเลกุลแตกตัวได้ง่าย) โดยจัดเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทีนี้มีนักวิจัยได้พูดถึงเรื่องนี้ไว้ว่าอย่างไรบ้าง มาดูกัน

ทำความรู้จักกับคลื่น X-Ray กันก่อน

คลื่นรังสีเอ็กซ์เรย์ มีความถี่อยู่ที่ 3?1016 Hz – 3?1019 Hz) ตามความเข้าใจง่าย ๆ ก็คือ เป็นคลื่นที่ให้ความร้อนสูงมาก สูงกว่าคลื่นไมโครเวฟมากมาย โยนเมล็ดป็อปคอร์นเข้าไปก็กลายเป็นข้าวโพดคั่วได้เช่นกัน ความสามารถของคลื่นนี้คือใช้ส่องมองเห็นทะลุกระดูก เครื่องใน ไส้ ตับ ของสิ่งมีชีวิตได้ และส่องทะลุกระเป๋าเดินทางได้ ส่วนเครื่องสแกนกระเป๋าในสนามบินทั่วไปบางที่เท่านั้นที่ใช้รังสีเอ็กซ์เรย์ ปัจจุบันคาดว่าจะเปลี่ยนเป็นคลื่นตัวอื่นแล้ว เพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่สนามบินเองด้วย ยกเว้นโซนพิเศษตรวจคนเข้าเมือง และ สนามบินใหญ่ ๆ ก็น่าจะใช้ X-Ray อยู่ และต้องมีเจ้าหน้าที่รังสีควบคุมเครื่องโดยเฉพาะ

ปริมาณรังสีเอ็กซ์เรย์จะเห็นผลอันตรายก็ต่อเมื่อ 1) รับโดยตรง 2) รับเป็นเวลานาน โดยส่งผลกระตุ้นให้เป็นมะเร็ง เป็นหมันได้

  • คลื่นเอกซเรย์เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้น X-ray มีพลังงานโฟตอนน้อย แต่ รังสีแกมม่ามีพลังงานโฟตอนสูง ซึ่งสามารถเปลี่ยนโครงสร้างเซลล์ต้นกำเนิดได้โดยตรง และทางอ้อม เพราะมันมีผลต่อโครงสร้างในระดับอะตอม ทำให้โมเลกุลเกิดการแตกตัวเป็นอนุมูลอิสระ สลายไปเป็นโมเลกุลน้ำได้ ซึ่งเป็นกลไกที่เกิดขึ้นในระดับ DNA แล้วส่งผลไปถึงการสร้างโปรตีนและกล้ามเนื้อ

รังสี X-Ray เป็นอันตรายกับตัวอ่อนในครรภ์แน่นอน แต่ก็จะเป็นอันตรายก็ต่อเมื่อได้รับมากเกินไป หรือ ได้รับโดยตรง ในช่วงที่เซลล์ตัวอ่อนของเด็กกำลังแบ่งตัวมากที่สุด นั่นก็คือช่วงไตรมาสแรก (3 เดือนแรก) ลองมาฟังการทดลองที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2013 เรื่อง “ปริมาณรังสีและความเสี่ยงที่ได้รับจากรังสีเอ็กซ์เรย์ของตัวอ่อน ควรกังวัลแค่ไหน?”

ผู้วิจัยได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่า ผู้หญิงตั้งครรภ์บางครั้งก็จะได้รับการตรวจด้วยวิธีเอ็กซ์เรย์ ซึ่งเราต่างเป็นกังวลกันว่ามันเป็นอันตรายกับทารกในครรภ์ แต่เราควรจะกังวลกับมันแค่ไหน?

วิธีการทดลอง  ผู้วิจัยได้ศึกษาด้วยการวัดขนาดของตัวอ่อนในครรภ์จากการได้รับรังสีเอ็กซ์เรย์ด้วยความเข้มของรังสีที่แตกต่างกัน (จากหน้าเว็บแบบอ่านฟรี ไม่ได้ระบุว่า การทดลองนี้ทำกับมนุษย์หรือหนูทดลอง ถ้าต้องการค้นคว้าฉบับเต็ม ตามเข้าไปอ่านได้ที่อ้างอิงที่ใส่ไว้นะคะ)

ขั้นตอนการทดลอง ผู้วิจัยได้ให้รังสีที่แตกต่างกัน 6 แบบ และได้พบว่ามีคลื่นรังสีเอ็กซ์เรย์ 3 แบบ ที่ส่งผลกับ ขนาดของตัวอ่อน อย่างที่คาดการณ์ไว้จริง ๆ

ผลสรุป จากการทดลองพบว่า จากคลื่นรังสีที่ได้รบั ส่งผลต่อขนาดตัวอ่อน ในการสร้างกระโหลก และกล้ามเนื้อต่าง ๆ ไม่สมบูรณ์อย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งระดับรังสีที่ได้จากการทดลองนี้ จะใช้เป็นข้อกำหนดในการรักษาหญิงตั้งครรภ์กับโรคอื่น ๆ ว่าควรให้รังสีแบบไหนจึงจะปลอดภัย

ที่มา : จากเรื่อง “Fetal radiation doses and subsequent risks from X-ray examinations: Should we be concerned?” https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3941392 [Iran J Reprod Med. 2013 Nov; 11(11): 899–904.]

สิ่งที่ได้จากการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับรังสีเอ็กซ์เรย์ กับการตั้งครรภ์ ปัจจุบันยังพบว่าเป็นอันตรายแก่ทารกในช่วง 3 เดือนแรก แต่หากคุณแม่มีความจำเป็นต้องให้การรักษา วินิจฉัยด้วยวิธี X-Ray แล้ว คุณหมอและนักรังสีเทคนิคจะมีวิธีการใช้โลหะบังช่วงท้องไว้ หรือ ใช้ปริมาณรังสีในความเข้มที่จำเป็นเท่านั้น

 

 

2 คลื่น Wifi ส่งผลต่อเด็กในครรภ์ไหม?

ความถี่ของคลื่น Wi-fi อยู่ที่ 2.45 GHz เมื่อเทียบกับคลื่น X-Ray ข้างบนแล้ว Wi-fi นี่ดูปลอดภัยแตกต่างกันสิ้นเชิง แต่ก็ยังมีข้อสงสัยว่าคลื่น Wifi ส่งผลต่อตัวอ่อนในครรภ์หรือเปล่า?

การทดลองนี้ตีพิมพ์ในปี 2017 ที่ผ่านมานี้เอง โดยทำการทดลองกับหนูตั้งครรภ์จำนวน 24 ตัว โดยให้รับคลื่น Wifi เต็ม ๆ เป็นเวลา 48 ชั่วโมง หรือ 2 วัน และผู้ทำการวิจัยก็ได้ตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของลูกหนูหลังคลอดออกมาแล้ว ด้วยการวัดสารชีวเคมี อาทิ น้ำตาล, ไตรกลีเซอไรด์ และ ระดับแคลเซียม ก็ปรากฎว่าไม่มีความผิดปกติใด ๆ กับทั้งแม่และลูกหนู

 

ที่มา : Effects of prenatal exposure to WIFI signal (2.45GHz) on postnatal development and behavior in rat: Influence of maternal restraint. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/28288806 [Behav Brain Res. 2017 May 30;326:291-302. doi: 10.1016/j.bbr.2017.03.011. Epub 2017 Mar 10.]

 

 

3 เครื่องตรวจจับโลหะ มีผลต่อเด็กในครรภ์ไหม?

เครื่องตรวจจับโลหะแบบประตู กับ ไม้ ใช้หลักการสร้างคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่อาจจะมีความเข้มข้นแรงกกว่าสนามแม่เหล็กโลกเพียงหน่อยเดียว เพื่อดักจับโลหะขนาดที่กำหนดไว้ไม่เล็ก ไม่ใหญ่ โดยการแปลผลจากค่าสมการที่เครื่องตั้งไว้ และส่งสัญญาณเป็นเสียง “ตึ๊ด ตึ๊ด” มันไวต่อโลหะมาก หากสะพายกระเป๋าที่มีหูจับเป็นสายเหล็กยาวกว่า 1 คืบ มันก็ดังแล้ว

คลื่นความถี่ที่ออกมาจากเครื่องตรวจจับโลหะแบบประตูอุโมงค์ มีประมาณ 500 Hz ซึ่งน้อยพอ ๆ กับหูฟัง Head Phone และน้อยกว่าสัญญาณ Wifi เสียอีก

 

 

โดยส่วนตัวแล้วเวลาผ่านเครื่องตรวจจับโลหะตามรถไฟฟ้าที่หน้าตาแบบรูปด้านบนนี้ ผู้เขียนไม่ได้กลัวหรือตกใจจนต้องขอเบี่ยงเข้าทางพิเศษ เพราะรู้ว่ามันไม่ใช่ X-Ray Detector ตามหลักการแล้วมันมีไว้เพื่อดักจับโลหะ ที่ขนาดประมาณก้านร่ม เพื่อป้องกันการพกอาวุธอย่าง มีดพร้า และปืน เข้าสนามกีฬา หอประชุม แต่เครื่องนี้ไม่สามารถสแกนจนเห็นไส้เห็นพุงได้

 

 

 

ด้วยความเป็นห่วง จาก ว่าที่คุณแม่มือใหม่ ??

 

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ได้ที่ >> สารบัญ Siwika Maternity << 
หรือพูดคุยกันได้ทาง Facebook.com/tonhomsiwika นะคะ

Advertisement

6 Comments

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.